เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว นักเลี้ยงไก่ชนต้องระวังให้ดี เพราะนี่คือช่วงเวลาที่เชื้อโรคต่างๆ ฟักตัวและแพร่กระจายได้ง่าย โดยเฉพาะ “โรคอหิวา” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “โรคห่าไก่” ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pasteurella Multocida โรคนี้มักทำให้ไก่ชนป่วยหนักและเสียชีวิตอย่างกะทันหัน
เตือนภัยฤดูฝน “โรคอหิวาไก่” ระบาดเสียหายหนัก! ฝันร้ายของคนรักไก่ชน
อาการของโรคอหิวาไก่ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ชนิดแรก ชนิดรุนแรงและเฉียบพลัน โดยไก่ชนจะป่วยและตายโดยไม่แสดงอาการใดๆ ล่วงหน้า หรืออาจมีไข้สูง น้ำมูก น้ำลายเป็นเมือก หายใจลำบาก ขาดอาหารและน้ำ ขนร่วง จนกระทั่งตายใน 1-3 วัน ส่วนชนิดที่สอง ชนิดเรื้อรัง ไก่ที่ป่วยแล้วไม่ตายจะแสดงอาการหงอย ซึม พบลักษณะบวมที่เหนียง โพรงจมูก ตา หายใจดังและหอบ
แหล่งแพร่เชื้อและการป้องกัน เชื้อโรคอหิวาสามารถแพร่กระจายมาจากนก หนู แมลงวัน สุนัข แมว ดังนั้นการป้องกันจึงควรเริ่มจากการรักษาความสะอาดโดยรอบโรงเลี้ยง เปลี่ยนน้ำดื่มใหม่ทุกวัน และจัดให้มีอากาศถ่ายเทที่ดี นอกจากนี้ควรมีการฉีดวัคซีนป้องกันเป็นประจำทุก 3 เดือน เมื่อพบไก่ติดเชื้อ ให้รีบแยกตัวออกจากฝูง และให้ยาปฏิชีวนะหรือยาซัลฟาอย่างน้อย 2-3 วัน
“การป้องกันสำคัญกว่าการรักษา” จึงเป็นสิ่งที่นักเลี้ยงไก่ชนพึงระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในช่วงหน้าฝนนี้ ติดตามข่าวสารไก่ชนได้ที่นี่
แหล่งอ้างอิง : www.เว็บไก่ชน.com
อ่านเพิ่มเติม : ข่าวสารไก่ชน